หัวข้อ  “ คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2557
        นักเศรษฐศาสตร์คาดเศรษฐกิจปี 57 โต 4.3% ส่งออกโต 4.9% ชี้การเมืองเป็นปัจจัยเสี่ยงลำดับ 1
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะ
เศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์
จากองค์กรชั้นนำ 29 แห่ง จำนวน 62 คน เรื่อง “คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2557”
โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 24 – 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา สรุปได้ว่า
 
                นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 75.8 คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2557
จะดีกว่าปี2556 โดยจะขยายตัวได้ ร้อยละ 3.6
เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทย
ที่นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 82.3 คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้า
จะดีขึ้นโดยจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4.3
ขณะที่ร้อยละ 9.7 เห็นว่า
จะแย่กว่า เมื่อถามถึงราคาน้ำมันดิบดูไบ ร้อยละ 53.2 คาดว่าราคาจะสูงขึ้น
จากปีนี้โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 109 ดอลลาร์ สหรัฐต่อบาร์เรล

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ร้อยละ 61.3 คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ ในช่วง
ร้อยละ 2.1-3.0
 
                สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2557 ร้อยละ 45.2
คาดว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน(ร้อยละ 2.50)
ตลอดปี 2557
รองลงมาร้อยละ 35.5 คาดว่า ธปท.จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับร้อยละ 3.0 ภายในสิ้นปี 2557
 
                ด้านค่าเงินบาท ร้อยละ 37.1 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2557 จะอ่อนค่ากว่าปี 2556 โดยจะอยู่ที่
ระดับ 31.6 บาทดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่ร้อยละ 32.3 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยจะแข็งค่ากว่าปี 2556 โดยจะอยู่ที่ระดับ 30.5
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อถามถึงการขยายตัวของการส่งออก(ในรูปของเงินบาท) ร้อยละ 69.4 คาดว่าการส่งออกของ
ไทยปี 2557 จะดีกว่าปี 2556 โดยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.9
ขณะที่ร้อยละ 12.9 คาดว่าจะแย่กว่าปี 2556 โดยจะ
ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.1
 
                  ส่วนความเห็นต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ร้อยละ 35.5 คาดว่า SET Index
ปี 57 จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,468-1,643 จุด
ส่วนร้อยละ 21.0 คาดว่า SET Index ปี 57 จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง
1,292-1,467 จุด ขณะที่ร้อยละ 19.4 คาดว่า SET Index ปี 57 มีโอกาสที่จะทำสถิติจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าปี 56 ที่อยู่ใน
ระดับ 1,643 จุด
 
                  สำหรับปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะส่งผลกระทบและฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยปี 2557 มากที่สุด 4 ลำดับแรกมีดังนี้

  อันดับ 1 ร้อยละ 80.6 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล
  อันดับ 2 ร้อยละ 66.1 เศรษฐกิจโลกในภาพรวม
  อันดับ 3 ร้อยละ 59.7 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
  อันดับ 4 ร้อยละ 58.1 หนี้ภาคครัวเรือนของไทย
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2557 เปรียบเทียบกับปี 2556

ร้อยละ
 
75.8
คาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2557 จะดีกว่าปี 2556 และจะขยายตัวร้อยละ 3.6 (ค่าเฉลี่ย)
9.7
คาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2557 จะแย่กว่าปี 2556 และจะขยายตัวร้อยละ 2.4 (ค่าเฉลี่ย)
14.5
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             2. ความเห็นต่อ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2557 เปรียบเทียบกับปี 2556

ร้อยละ
 
82.3
คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2557  จะดีกว่าปี 2556  และจะขยายตัวร้อยละ 4.3 (ค่าเฉลี่ย)
9.7
คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2557  จะแย่กว่าปี 2556  และจะขยายตัวร้อยละ  2.8 (ค่าเฉลี่ย)
8.0
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             3. ความเห็นต่อ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2557 เปรียบเทียบกับปี 2556

ร้อยละ
 
53.2

คาดว่า ราคาเฉลี่ยในปี 2557  จะสูงกว่าปี 2556 
โดยจะอยู่ที่ระดับ 109 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล(ค่าเฉลี่ย)

16.1

คาดว่า ราคาเฉลี่ยในปี 2557  จะต่ำกว่าปี 2556 
โดยจะอยู่ที่ระดับ 99 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล(ค่าเฉลี่ย)

30.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             4. ความเห็นต่อ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยปี 2557

ร้อยละ
 
24.2
คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.1-4.0
61.3

คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1-3.0

9.7
คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.1-2.0
4.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             5. ความเห็นต่อ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2557 จะมีการปรับเปลี่ยนไปในลักษณะใด
                 ในภาพรวมเมื่อเทียบกับปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.50


ร้อยละ
 
35.5

คาดว่า ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับ
ร้อยละ 3.0 ภายในสิ้นปี 2557

45.2

คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน(ร้อยละ 2.50) ตลอดปี  2557

3.2

คาดว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันลงไปสู่ระดับ
ร้อยละ 2.0-2.25 ภายในสิ้นปี 2557

16.1
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             6. ความเห็นต่อ ค่าเงินบาทในปี 2557 จะเคลื่อนไหวในระดับใดโดยเฉลี่ย

ร้อยละ
 
32.3

คาดว่า ค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2557 จะแข็งค่ากว่าปี 2556
โดยจะอยู่ที่ระดับ 30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเฉลี่ย)

37.1

คาดว่า ค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2557 จะอ่อนค่ากว่าปี 2556 
โดยจะอยู่ที่ระดับ 31.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเฉลี่ย)

30.6
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             7. ความเห็นต่อ การขยายตัวของการส่งออกในปี 2557 เมื่อเทียบกับปี 2556 (ในรูปของเงินบาท)

ร้อยละ
 
69.4

คาดว่า การส่งออกของไทยปี 2557 จะดีกว่าปี 2556
โดยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.9 (ค่าเฉลี่ย)

12.9

คาดว่า การส่งออกของไทยปี 2557 จะแย่กว่าปี 2556
โดยจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.1 (ค่าเฉลี่ย)

17.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             8. ความเห็นต่อ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ในปี 2557 มีโอกาสที่จะ
                 ปรับเปลี่ยนไปในทิศทางใดเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556
(จุดสูงสุดของ SET Index ในช่วงที่ผ่านมา
                 ของปีอยู่ที่ 1,643 จุด และจุดต่ำสุดของปีอยู่ที่ 1,292 จุด และมีค่ากลางเท่ากับ 1,467.5 จุด)


ร้อยละ
 
19.4

คาดว่า SET Index ปี 57 มีโอกาสที่จะทำสถิติจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าปี 56
ที่อยู่ในระดับ 1,643 จุด

35.5

คาดว่า SET Index  ปี 57  จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,468-1,643 จุด

21.0
คาดว่า SET Index ปี 57 จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,292-1,467 จุด
4.8

คาดว่า SET Index ปี 57 มีโอกาสที่จะทำสถิติจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าปี 56
ที่อยู่ในระดับ 1,292 จุด

19.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             9. ความเห็นต่อ ปัจจัยใดจะส่งผลกระทบและฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยปี 2557 มากที่สุด
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ร้อยละ
 
80.6

ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล

66.1

เศรษฐกิจโลกในภาพรวม

59.7

ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก 

58.1

หนี้ภาคครัวเรือนของไทย 

45.2
ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
33.9
หนี้สาธารณะของไทย 
29.0
ปัญหาภัยธรรมชาติ/ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
24.2
ค่าเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้นหรือผันผวนมากขึ้น 
22.6
ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
8.1
การเปิดเสรีทางการค้า  ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มการค้าอาเซียน(AEC)  ข้อตกลง TPP  เป็นต้น
6.5
อัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
1.6
ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีมาบตาพุด และแหลมฉบัง เป็นต้น
4.8
อื่นๆ ได้แก่  การใช้ Smartphone และ Tablet มากขึ้นมากกว่า PC
รวมถึงการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการจากความกังวลต่อน้ำท่วม จะส่งผลต่อการส่งออก HDD
ของไทยในระยะยาว /การลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ล่าช้ากว่าคาดมาก
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                        เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อทิศทางเศรษฐกิจและปัจจัยที่จะเข้ามากระทบในปี 2557
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์
               วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 29 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย  สำนักงานคณะ
               กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  สำนักงานเศรษฐกิจ
               อุตสาหกรรม  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์  สถาบันวิจัย
               เพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)  มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
               สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
               ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  บริษัททริสเรทติ้ง
               บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ  บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป  บริษัทหลักทรัพย์ภัทร
               บริษัทหลักทรัพย์เคเคเทรด  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
               สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง  คณะวิทยาการ
               จัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร  สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัย
               ศรีนครินทร์วิโรฒ  คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น  และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                        การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  24 – 31 ตุลาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 พฤศจิกายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
32
51.6
             หน่วยงานภาคเอกชน
20
32.3
             สถาบันการศึกษา
10
16.1
รวม
62
100.0
เพศ:    
             ชาย
34
54.8
             หญิง
28
45.2
รวม
62
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.6
             26 – 35 ปี
19
30.6
             36 – 45 ปี
21
33.9
             46 ปีขึ้นไป
21
33.9
รวม
62
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
6.5
             ปริญญาโท
42
67.7
             ปริญญาเอก
16
25.8
รวม
62
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
10
16.1
             6 - 10 ปี
14
22.6
             11 - 15 ปี
10
16.1
             16 - 20 ปี
10
16.1
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
18
29.1
รวม
62
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776